วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



                                         วันที่    26   พฤศจิกายน     2556

                                               กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                           - อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with behaviorally and Emotional disorders)เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง ผู้ที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้ หรือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสังคม ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย สอดคล้องกับสภาพการณ์ ซึ่งการจะจัดว่าใครมีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อม พฤติกรรมและอารมณ์ที่เป็นที่ยอมรับในสถานการณ์อย่างหนึ่ง 2. ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล ความคิดเห็นของคนสองคนที่มีต่อพฤติกรรมอย่างเดียวกัน ย่อมไม่เหมือนกัน 3. เป้าหมายของแต่ละบุคคล ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดทำให้การมองพฤติกรรมเดียวกันของคนสองคนมองกันคนละแง่
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก และกำลังได้รับความสนใจจากทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ได้แก่
1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือบางคนเรียกว่า ออทิสซึ่ม (Autisum)
                                      -อาจารย์ให้ดูวีดีโอเด็กพิเศษ โรงเรียนละอออุทิศ แล้วทำมายเม็บสรุปจากวีดีโอ

สรุป ความรูจากวีดีโอเป็นมายเม็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



                                     วันที่      19    พฤศจิกายน       2556

                                                กิจกรรมการเรียนการสอน
                                             - อาจารย์สอน เรื่องบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสุขภาพ
 ความหมาย
                บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ  หมายถึง  บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย
ลักษณะอาการ
                - อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                                1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
                                1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
                                1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
                                1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
                                1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
                2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
                3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                                3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                                3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                                3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
                4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
                5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
                6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง

                - ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
                                1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
                                1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
                                1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
                                1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                                1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
                2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
                3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
                4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ




                5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
               6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด

                7. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
วิธีการดูแล
                1. เด็กเหล่านี้ เป็นเด็กที่ต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่นเดียวกับเด็กปกติ  เช่น  การดูแลเอาใจใส่ ความรัก  ความเมตตา  การเลี้ยงดูอย่างเด็กปกติ  จะทำให้เด็กเหล่านี้ไม่มีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจภายหลัง
                2. การเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดปกติหรือความบกพร่องของเด็กเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับ  ผู้ที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจและยอมรับสภาพของเด็ก  รวมถึงหาทางช่วยเหลือเด็กได้ถูกต้อง  ซึ่งทำได้โดยการพูดคุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
                3. พาเด็กออกสู่สังคม  แนะนำพี่น้อง  ญาติ  เพื่อนๆ  ให้รู้จักเด็กและความพิการของเขาเสียแต่เนิ่นๆ  และควรพาออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้รู้จักช่วยตนเอง และเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
                4. การฝึกหัดในการทำกิจกรรมต่างๆ  ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ง่ายๆ  ก่อนเพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและเป็นแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ยากขึ้น
                5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง  เพราะ  เด็กเหล่านี้จะทำด้วยความเชื่องช้าเสียเวลาในการทำมากหรือเลอะเทอะ  ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจ  ให้เขาได้ฝึกฝนทำเอง  ทำบ่อยๆ ซ้ำๆ  เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
                6. พ่อ  แม่  ผู้ปกครอง  ควรให้ความร่วมมือกับทีมผู้รักษา  เมื่อได้รับคำแนะนำวิธีการบำบัดอย่างง่ายๆ ควรนำไปปฏิบัติกับเด็กที่บ้าน  เวลาของเด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับบ้านมากกว่าสถานพยาบาล  การเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดของพ่อแม่ผู้ปกครองจะช่วยเหลือเด็กได้มาก
                7. การฝึกหัดเด็ก  จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอและด้วยอารมณ์มั่นคง  มีเหตุผลเมื่อเด็กทำผิด  จะถูกทำโทษทันที  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายไม่สับสน
                8. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเด็กอย่างสม่ำเสมอและให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อมีปัญหาหรืออาจมีปัญหาเกิดขึ้นให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้การแก้ไขได้อย่างทันเหตุการณ์และถูกต้องต่อไป
                9. การให้กำลังใจ  บุคคลที่มีเกี่ยวข้องกับเด็ก  เช่น  พ่อ  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ญาติพี่น้องควรให้กำลังใจแก่แม่   ตลอดจนช่วยในการเลี้ยงดูและอบรมเด็กด้วย
  กิจกรรมการช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
                1. ฝึกการใช้สายตาและมือทั่วไป  เช่น  การต่อก้อนไม้  การปั้นดินน้ำมัน  การวาดภาพระบายสี  การตัดด้วยกรรไกร  ฯลฯ
                2. ฝึกการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ  เช่น  การใช้มือและสายตาในท่าการนอนหงาย  การเคลื่อนไหวในท่านอนคว่ำ  ท่านั่งและท่ายืน  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การใช้กระดานทรงตัว  การรับและส่งลูกบอล  การลากของเล่นที่มีล้อ
                3. ฝึกการช่วยเหลือตนเอง  เช่น  การรับประทานอาหารและดื่มน้ำ  การแต่งตัว  การขับถ่าย  การอาบน้ำ การสวมเสื้อผ้า  ฯลฯ
                4. ฝึกการรับรู้เสียงและการแสดงสีหน้าท่าทางและคำพูด  พยายามพูดกับลูกของตนเองให้มากที่สุดและพยายามสร้างคำพูดให้เป็นประโยคฝึกการรับรู้เรื่องรูปทรง  ขนาด  ทิศทาง  เวลา  สีและการแก้ปัญหาฝึกการปฏิบัติตามคำสั่ง  การฝึกลีลามือ  การเขียนตัวอักษรและการอ่าน  การทำกายภาพบำบัดกิจกรรมบำบัด  ฯลฯ
 แนวทางการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
                1. ตรวจพบและให้การรักษาฟื้นฟูแต่เนิ่นๆ  ยิ่งพบความผิดปกติได้เร็วและให้การรักษาได้เร็ว  ยิ่งเป็นการดีเท่านั้น
                2. ป้องกันไม่ให้เกิดความพิการเพิ่มมากขึ้นหรือทำให้เกิดพิการซ้ำซ้อน  โดยให้ความรู้แก่บุคคลให้สนใจเอาใจใส่เด็กที่มีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ  คลอดผิดปกติหรือมีความผิดปกติหลังคลอด  ให้ได้รับการดูแลติดตามจากแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้น  เพื่อให้ได้รับการประเมินสภาพ  วินิจฉัย  ให้คำแนะนำและรักษาต่อเนื่อง

สรุป  ได้เรียนรู้เรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ    ได้รู้ความหมาย อาการของโรคต่างๆ แนวทางแก้ไข และ วิธีดูแลตนเอง

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



                                           วันที่ 12    พฤศจิกายน   2556  

                                                    กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                       - อาจารย์สอน เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศเด็กพิเศษ” (Special Child) หลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการ
บกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ
เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง
เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน 
การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น 
3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับ
การดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดง
ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถ
              พิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ 
              ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทย
ได้แบ่งออกเป็น 9 กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต
และการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน 
เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
ทั้งนี้ เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้
พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษา
ที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

 สาธิความบกพร่องทางการมองเห็น

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


                                             วันที่   5   พฤศจิกายน  2556

                                           กิจกรรมการเรียนการสอน
                                                     -อาจารย์ปฐมนิเทศรายวิชา สร้างข้อตกลงการเรียน
1.ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
2.มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย
3. ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 
4.ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาเรียน
5.งานที่มอบมายส่งตามเวลาที่กำหนด
เทอมนี้มีงานดังนี้
-พรีเซนต์งานกลุ่ม
-งานเดี่ยวหาวิจัย   + ส่งหลังสอบกลางภาค
- ทำบล็อก คะเเนน 20 คะแนน
- จิตพิสัย 20 คะแนน
   # อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ1 แผ่นมีสีเมจิ สีไม้คนละ1กล่องให้นักศึกษาแตกมายแม็บคำ่ำว่า เด็กพิเศษ
 - อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานเด็กพิเศษจากความรู้เดิม 1 คน
 - อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานเด็กพิเศษจากอินเตอร์เน็ต 1 คน 


                               
      
สิ่งที่ได้เรียนรู้        ได้รู้ความหมายของเด็กพิเศษแล้วทำเป็นมายแม็บจากความรู้ดิม